ในการเริ่มต้นก่อสร้างสระว่ายน้ำเราจะต้องตรวจสอบสภาพดินและความสะดวกในการทำงานของพื้นที่ก่อสร้าง
ทำการวางผัง ปักหมุดพื้นที่ก่อสร้างเพื่อลงเสาเข็ม ขั้นตอนนี้จะต้องตรวจสอบเรื่องตำแหน่งของเสาเข็มให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
ขั้นตอนต่อมาจะทำการวางเหล็กพื้นซึ่งจะเป็นสองชั้น ชั้นแรกเพื่อรับน้ำหนักน้ำในสระ ชั้นสองเพื่อรับแรงดันน้ำใต้ดิน และทำการวาง water stop ไว้ตรงตำแหน่งรอยต่อพื้นกับผนัง เพื่อป้องกันการรั่วซึม
ส่วนการเดินระบบสระว่ายน้ำนั้นจะวางท่อน้ำระหว่างเหล็กสองชั้น ซึ่งการเดินท่อจะต้องตรวจสอบเรื่องระยะให้ดี โดยการวางแนวท่อนั้นเราจะดูจากแบบระบบ
หลังจากวางเหล็กและเดินระบบพื้นเสร็จเรียบร้อย เราจะต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าเป็นไปตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ ขั้นตอนต่อมาก็จะเริ่มเทคอนกรีตในส่วนพื้น ซึ่งจะต้องมีการจี้คอนกรีตที่ดีไม่มากหรือน้อยเกินไป(สำคัญมาก)
พอคอนกรีตพื้นเริ่มแข็งตัวก็จะเริ่มเดินเหล็กและทำการวาง sleeve ท่อที่ผนัง หลังจากนั้นจะเริ่มเข้าแบบผนังมีทั้งแบบที่เป็นไม้ เหล็กและพลาสติก ซึ่งต้องมีความแข็งแรงมากเพื่อป้องกันไม่ให้ระหว่างเทเกิดการแบบแตกได้
ขั้นตอนการเทคอนกรีตผนังสระว่ายน้ำจะเทแบบวนรอบ แต่ละรอบจะเทสูงประมาณ 30 ซม. ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือการจี้คอนกรีตซึ่งจะต้องเน้นจุดนี้มากๆ
หลังจากเริ่มถอดแบบก็จะทำการเดินระบบท่อต่อจากที่วาง sleeve ไว้ แล้วก็ทำการตรวจสอบผนังคอนกรีตสระว่ายน้ำว่ามีการเกิดรูพลุน หรือรังผึ้งบ้างไหม ถ้ามีต้องทำการแก้ไขด้วยสารกันซึมก่อนการปูกระเบื้อง
ช่วงการปูกระเบื้องสระว่ายน้ำ จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ภายในสระว่ายน้ำควบคู่กันไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทำการติดตั้งอุปกรณ์สระว่ายน้ำภายในห้องเครื่องจะต้องวางตำแหน่งอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อให้เข้ามา Maintenance ได้สะดวก ห้องเครื่องสระว่ายน้ำควรมีการระบายความร้อนและป้องกันน้ำท่วมขังที่ดี
ขั้นตอนสุดท้ายคือการบำบัดน้ำที่ใส่ไว้เริ่มต้น โดยต้องให้ค่าคลอรีนอิสระในน้ำสูงจนกลายเป็นซุปเปอร์คลอรีน 3 วันติดต่อกัน หลังจากนั้นจึงทำการดูดตะกอนสระให้สะอาด แล้วตรวจสอบค่า PH และ คลอรีน ถ้าอยู่ในค่าที่เหมาะสมก็ทำการลงว่ายน้ำอย่างมีความสุขได้เลยครับ